บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)
สมุดปกขาว หอการค้าไทย ปี 2567
งานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 42 : สร้างไทยให้เติบโตสู่อนาคตที่ยั่งยืน
CONNECT FOR GROWTH INNOVATING FOR OUR SUSTAINABLE FUTURE
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและซับซ้อน แม้เศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก แต่ปัญหาเชิงโครงสร้างในหลายมิติยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สมดุลของโครงสร้างเศรษฐกิจการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ ความเหลื่อมล้ำ ในสังคม และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทยมองความท้าทายที่ต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1) Geopolitical Challenge ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาค ส่งผลให้เกิดความผันผวนของนโยบายเศรษฐกิจโลกซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยตรง 2) Technology Challenge ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวในเรื่องDigital Transformation ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้แทนกระบวนการทำงานแบบเดิม ทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อยกระดับประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3) Population Challenge แนวโน้มอัตราการเกิดใหม่ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงกระทบต่อคุณภาพของประชากรในอนาคตและ 4) Climate Change ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น น้ำ ท่วม น้ำ แล้งซ้ำ ซาก และฝุ่นพิษ PM2.5 ยังคงเป็นความท้าทายที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังการจัดการความท้าทายเหล่านี้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและพร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต หอการค้าไทยในฐานะองค์กรภาคเอกชนไทย จึงตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมือ ระหว่างภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจดังนั้น การจัดงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 42 หอการค้าไทย จึงได้ขยายแนวทาง Connect CompetitiveSustainable สู่การมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยได้กำหนด Theme การจัดสัมมนาภายใต้แนวคิด “Connect for Growth, Innovating for OurSustainable Future” ด้วยแนวทางสำคัญประกอบด้วย 2 แกนหลัก คือ การเชื่อมโยง (Connect for Growth)เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่ง และการนำนวัตกรรมมาใช้ (Innovating for Sustainability) เพื่อพัฒนาประเทศให้ตอบโจทย์ความยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งหอการค้าไทยได้ตั้งเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้เต็มศักยภาพและมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมวลรวม (จีดีพี) เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี นำ ไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ และยกระดับขีดความสามารถของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมที่ดีในโอกาสนี้ หอการค้าไทย พร้อมด้วยสมาชิกและเครือข่ายภาคเอกชนทั่วประเทศที่ประกอบไปด้วย หอการค้าจังหวัดผู้ประกอบการรุ่นใหม่หอกรารค้าฯ (YEC) สมาคมการค้า หอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และสมาชิกผู้ประกอบการได้ระดมความเห็นเพื่อจัดทำเป็นแนวทางข้อเสนอแก่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1 ข้อเสนอเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน 6 ประเด็นปลุกเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน และแนวทางการสร้างคนรุ่นใหม่เป็น “พลัง” ขับเคลื่อนประเทศ ดังนี้
การฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน
หอการค้าไทย ได้ระดมความเห็นจากเครือข่ายเอกชนทั่วประเทศ ถึงสิ่งที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ และได้นำเสนอต่อนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 โดยมี 3 เรื่องเร่งด่วน ได้แก่
1) การสร้างความเชื่อมั่นทั้งในและต่างประเทศ โดยขอให้รัฐบาลออกมาตรการลดภาระค่าครองชีพประชาชนและต้นทุนของผู้ประกอบการ ทั้งการควบคุมราคาสินค้าพื้นฐานและบริการที่จำเป็น การตรึงราคาค่าไฟฟ้า น้ำ มันดีเซลรวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เป็นไปตามกลไกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) การผลักดันให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาพลังงาน(กรอ.พลังงาน) กระจายงบประมาณไปยังภูมิภาคอย่างทั่วถึงและเร่งใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังกลุ่มเปราะบาง การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยโครงการคูณสองเพื่อช่วยเพิ่มกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ มาตรการดึงการจับจ่ายใช้สอย เช่น มาตรการ Easy e-Receipt และมาตรการทางภาษีอื่น ๆนอกจากนั้น ยังขอให้รัฐบาลสานต่อการขับเคลื่อนการยกระดับเมือง และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน(10 จังหวัดนำร่อง)
2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน SMEs การเร่งสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการเพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้ สนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อผ่านมาตรการค้ำประกันสินเชื่อ และกองทุนต่าง ๆ ทั้ง สสว. บสย. และธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรการส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการสู่ Smart SMEs การจัด Event แสดงสินค้าไทยในต่างประเทศ การสนับสนุนเงินทุนสำหรับการขอรับรองด้านสิ่งแวดล้อมแก่ SME การจัดทำระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับนิติบุคคล (Corporate digital ID)สำหรับแก้ปัญหาบัญชีม้า
3) การวางยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อการเติบโตในอนาคตอย่างยั่งยืน ได้แก่ เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ให้แล้วเสร็จตามแผนงาน EEC การจัดทำสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจและดึงดูดการลงทุน และเสนอให้เพิ่มจังหวัดปราจีนบุรีเป็นอีก 1 จังหวัดที่รวมอยู่ในพื้นที่ EEC การอำนวยความสะดวกด้านการถ่ายลำทางเรือในระบบคอนเทนเนอร์ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง การเจรจากับเพื่อนบ้านเพื่อยกระดับจุดผ่านแดนทางการค้า การบริหารจัดการน้ำเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซากและการปรับปรุงนโยบายด้านแรงงาน อย่างไรก็ตาม การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนที่ครอบคลุมและมีเป้าหมายที่ชัดเจน หอการค้าไทยได้สรุป 6 ประเด็นสำคัญเพื่อปลุกเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ได้แก่
ประเด็นที่ 1 การค้าและการลงทุน โอกาสและความท้าทาย
การรุกตลาดใหม่ และเจรจาการค้า หอการค้าไทยได้กำหนดกลุ่มประเทศยุทธศาสตร์ (Strategic Countries) ซึ่งมีศักยภาพสูงในการขยายการค้าการลงทุน ประกอบด้วย ซาอุดิอาระเบีย จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม และเร่งผลักดันข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เป็นกุญแจสำ คัญในการเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค
การค้าชายแดน ข้ามแดน เป้าหมายผลักดันมูลค่าให้บรรลุ “2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2570” ยกระดับจุดผ่านแดนที่สำคัญของไทย นอกจากนั้น ยังขอให้ส่งเสริมการใช้เงิน “บาท-จ๊าด” ระหว่างการค้าไทยและเมียนมาและเร่งรัดกระบวนการออกใบอนุญาตนำเข้าสินค้าให้รวดเร็วมากขึ้น การขอลดหรือยกเว้นภาษีพิเศษ (Special Tax) สำหรับสินค้านำเข้ากัมพูชา การเจรจากับสปป.ลาว ให้รถสินค้าของไทยที่ต้องการผ่านแดนไปยังประเทศที่สามการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายสุไหงโก-ลก - รันเตาปันยังกับมาเลเซีย เร่งรัดการลงนามบันทึกความเข้าใจ 2 ฉบับเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดนไทย-มาเลเซีย และการเร่งรัดการยกระดับความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม เป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์รอบด้าน”
สนับสนุนการจัดตั้งกลไกประสานงานและส่งเสริมธุรกิจไทย-จีนอย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การค้าการลงทุน ลดอุปสรรคทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างสองประเทศ ตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ประเด็นที่ 2 เกษตรและอาหาร : คลังอาหารของไทยและโลก
การยกระดับเกษตรมูลค่าสูงผ่านการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ (Area-based) ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูกพืชเกษตรมูลค่าต่ำไปสู่เกษตรมูลค่าสูง ซึ่งปัจจุบันได้ขับเคลื่อนในพื้นที่นำร่องไปแล้ว 13 จังหวัด โดยขอให้รัฐบาลขยายผลการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
การขับเคลื่อนธุรกิจอาหารแห่งอนาคตของประเทศไทย ให้บรรลุเป้าหมายมูลค่า 500,000 ล้านบาทในปี 2570 โดยหอการค้าไทยได้ริเริ่มและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ทั้งนี้ ขอให้รัฐบาลส่งเสริมการรวมกลุ่มนักวิจัย (Consortium) การส่งเสริมการดึงดูดการลงทุนสารสกัดและโปรตีนขั้นสูง การจัดทำแพลตฟอร์มถ่ายทอดเทคโนโลยีและศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ การพัฒนากำลังคนรองรับ การพัฒนาตลาดอาหารแห่งอนาคต ตลอดจนส่งเสริม Future Food ไทยให้เป็นซอฟพาวเวอร์ผ่านเทศกาลอาหารและท่องเที่ยว
การส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) หอการค้าไทย ได้นำร่องใน 8 จังหวัดเป้าหมายส่งผลให้รายได้เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อคุณภาพสูงต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพิ่มขึ้น จึงเสนอให้รัฐบาลตั้งเป้าหมายปศุสัตว์จังหวัดในการเพิ่มจำ นวนฟาร์มโคเนื้อให้ได้มาตรฐาน GFM การต่ออายุใบรับรองฟาร์มมาตรฐาน GFM การเร่งรัดการประชาสัมพันธ์และจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร การส่งเสริมและผลักดันการเพิ่มจำนวนโรงฆ่าสัตว์ โรงตัดแต่งเนื้อสัตว์โรงคัดบรรจุที่ได้มาตรฐาน GMP และการส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชอาหารสัตว์ที่ขาดแคลน
เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ร่วมมือกับ 12 สมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง มีข้อเสนอสำคัญ ได้แก่ ข้อเสนอเร่งด่วนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประมงทั้งระบบอย่างยั่งยืน ข้อเสนอเพื่อพัฒนาการทำประมงอย่างยั่งยืนเพื่อป้องกันราคาสินค้าสัตว์น้ำตกต่ำข้อเสนอเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ด้วยการวิจัย พัฒนา ยกระดับศูนย์ประมงในประเทศ และข้อเสนอเพื่อพัฒนาการแปรรูปสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน
การสนับสนุนศูนย์ AFC แก้โจทย์สินค้าล้นตลาด-ราคาตกต่ำ (Agriculture and Food Coordination and Public Relations Center) โดยบูรณาการความร่วมมือภาคีเครือข่าย 28 หน่วยงาน จึงขอให้รัฐบาลมีส่วนร่วมพัฒนาต้นแบบศูนย์ประสานงานและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรและอาหาร (AFC) ให้เป็นแพลตฟอร์มกลางด้านการเกษตรและอาหารของประเทศและเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรในทุกมิติ
ประเด็นที่ 3 ท่องเที่ยวและบริการ : แหล่งรายได้สำคัญของประเทศ
ประเทศไทยต้องปรับกลยุทธ์การท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาประสบการณ์ที่โดดเด่น เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ และส่งเสริมบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ หอการค้าไทย ได้ผลักดัน “Happy Model”เครื่องมือการท่องเที่ยวคุณภาพสูง สู่การพัฒนาที่ตอบโจทย์อนาคต ประกอบไปด้วย กินดี (Eat Well) อยู่ดี(Live Well) ออกกำลังกายดี (Fit Well) และแบ่งปันสิ่งดี ๆ (Give Well) ต่อยอดสู่โครงการพัฒนาสินค้าและบริการHappy In Style จากแนวคิดลงไปสู่การปฏิบัติจริงผ่านการนำความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมาปรับใช้กับสินค้าและบริการในแต่ละพื้นที่ นอกจากนั้น ยังเดินหน้าโครงการ Hug Earth ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการท่องเที่ยวให้เป็นศูนย์ พร้อมเชื่อมโยงการขับเคลื่อน TAGTHAi แพลตฟอร์มท่องเที่ยวไทยครบวงจร ทำ ให้เกิดการบูรณาการข้อมูลและบริการด้านท่องเที่ยวที่ครอบคลุมทุกความต้องการของนักท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชั่นเดียวนอกจากนั้น หอการค้าไทยยังขอให้รัฐบาลมีส่วนร่วมในการสนับสนุนข้อเสนอเพื่อพัฒนาภาคท่องเที่ยวไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีข้อเสนอสำคัญ อาทิ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญ (CRUISE) เสนอให้จัดทำCruise Master Plan เพื่อเป็นแผนงานกลางในการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการกำหนดท่าเรือหลัก (Home Port)และท่าเรือแวะพัก (Port of Call) ที่เหมาะสม การส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) เสนอให้หน่วยงานภาครัฐทุกระดับร่วมผลักดันการจัดงาน MICE ระดับนานาชาติอย่างน้อยหน่วยงานละ 1 ครั้ง และเสนอให้ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรม MICE ภายในประเทศให้เติบโต การปรับหลักเกณฑ์และอัตราการเบิกค่าใช้จ่าย งานฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ค่าครองชีพโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมเมืองภูเก็ตเป็นเมืองปลอดอากร การพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองปลอดอากร(Phuket Free Port) การสนับสนุนสินเชื่อ Soft loan เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว และมาตรการสินเชื่อปรับปรุงรถนำ เที่ยวให้มีสภาพดีขึ้นและมีความปลอดภัย การผลักดันแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการ ท่องเที่ยว โดยขอขยายขอบเขตการใช้ MOU แรงงานต่างด้าวให้ครอบคลุมประเภทงานและประเทศต้นทางส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรภายในประเทศ ผ่านโครงการ “สถานประกอบการเป็นโรงเรียน” และเสนอปรับปรุงกฎหมายเพื่ออำ นวยความสะดวกในการจ้างงานชาวต่างชาติที่มีทักษะสูง การส่งเสริมการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ปรับปรุงหลักเกณฑ์และขั้นตอนการเปิดหลักสูตรในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น การทบทวนนโยบายการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ให้ทั่วถึง การส่งเสริมอุตสาหกรรมสารสกัด เพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจของสมุนไพรไทย และปรับปรุงขั้นตอนอนุมัติของกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ประเด็นที่ 4 การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน : เป้าหมายที่เริ่มทำได้ตลอดเวลา
หอการค้าไทยเห็นถึงความจำเป็นในการตอบสนองทิศทางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในประเด็นความยั่งยืนการขับเคลื่อน BCG และ ESG เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน ได้แก่
ข้อเสนอด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การกำหนดนโยบายให้มีความชัดเจนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา BCG การสร้างการรับรู้ให้กับภาคธุรกิจที่คำนึงถึงแนวคิด BCG หรือ ESG การส่งเสริมนโยบายและขับเคลื่อนธนาคารอาหารของประเทศไทย (Cloud Food Bank) การสนับสนุนสินค้าหรือบริการที่รักษาสิ่งแวดล้อม การกำหนดเงื่อนไขที่ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น การกำหนดมาตรการส่งเสริมให้มีการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร และผลักดันให้มีการเรียนการสอนเรื่องการจัดการขยะอาหารและขยะพลาสติก
ข้อเสนอด้านการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน ได้แก่ สร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจและบริการสร้างสรรค์กิจกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการชดเชยคาร์บอน หรือ Carbon Offset ส่งเสริมการใช้ Solar Rooftopขนาดเล็กตามบ้านอยู่อาศัยและอาคารพานิชย์ เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไข
ปัญหาพลังงาน (กรอ.พลังงาน) การเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จสาธารณะตามถนนหลัก การกำหนดแนวทางโครงสร้างต้นทุนไฟฟ้าในระยะยาวที่ชัดเจน การสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการแบตเตอรี่อย่างเป็นระบบครบวงจร การพิจารณาออกนโยบายสนับสนุนการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ที่มีส่วนขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และการสนับสนุนผู้ประกอบการกรณีนำยานยนต์สันดาปมาดัดแปลงเป็นยานยนต์ไฟฟ้า (EV conversion)
ประเด็นที่ 5 ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานยกระดับการแข่งขันของประเทศ
การส่งเสริมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน : ขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ EEC ให้แล้วเสร็จตามแผนงาน (ระหว่างปี 2570 -2572) ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา และโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 นอกจากนั้นด้านสิทธิประโยชน์ควรเร่งรัดการออกประกาศ กพอ. เรื่องสิทธิประโยชน์สำ หรับผู้ประกอบการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... และเร่งรัดการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (EEC-VISA) ตลอดจนผลักดัน EEC+1 เสนอให้เพิ่มจังหวัดปราจีนบุรี อีก 1 จังหวัด รวมอยู่ในพื้นที่ EEC
การปลดล็อคและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ การอำนวยความสะดวกการถ่ายลำทางเรือในระบบคอนเทนเนอร์ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง (Transshipment Sandbox) โดยขอให้รัฐบาลเร่งปลดล็อคปัญหาอุปสรรคการถ่ายลำ(Transshipment) ทางเรือในระบบคอนเทนเนอร์ผ่านข้อเสนอ Transshipment Sandbox จูงใจสายเรือใหญ่เข้าประเทศแก้ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน คาดสร้างรายได้ 1,200 ล้านบาทต่อปี และลดต้นทุนขนส่งกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปีเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางของประเทศ ได้แก่ เปิดให้ภาคเอกชนลงทุนจัดหาหัวรถจักรและแคร่มาให้บริการขนส่งทางรถไฟได้ด้วยตนเอง และสนับสนุนการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... ตามกระบวนการและขั้นตอนให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว การบริหารจัดการน้ำโดยขอให้รัฐบาลสนับสนุนมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการเงินและการลงทุน เพื่อให้สามารถประกอบกิจการได้ในกรณีประสบภัยพิบัติ สนันสนุนแนวทางรัฐบาลที่ได้จัดตั้ง War Room เพื่อสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำตลอดจน พัฒนาระบบแจ้งเตือนให้ประชาชนและผู้ประกอบการ ในพื้นที่แบบ Real time ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ
การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ โดยสนับสนุนการขับเคลื่อนร่าง พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. ... ให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว ขยายผลหน่วยงานรัฐในการเชื่อมโยงข้อมูลนิติบุคคลโดยไม่เรียกสำเนาเอกสาร สู่การเป็น e-Government ซึ่งปัจจุบัน นำร่องแล้ว10 หน่วยงาน เร่งประชาสัมพันธ์ระบบศูนย์กลางข้อมูลให้ธุรกิจติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ณ จุดเดียว หรือBiz Portal ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน สนับสนุนระบบให้บริการขอรับใบอนุญาต/ใบรับรองแบบ Single Submissionผ่าน National Single Window (NSW) รวมทั้ง ต่อยอดให้ครอบคลุมทุกใบอนุญาตและใบรับรองในระยะต่อไป และขอให้รัฐบาลสนับสนุนรางวัลสุดยอดหน่วยงานรัฐด้านการอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจ หรือ รางวัล “สำ เภา-นาวาทอง”ซึ่งเป็นรางวัลที่ภาคเอกชนให้กำลังใจและเชิดชูหน่วยงานรัฐที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นที่ 6 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค : สร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค หอการค้าไทย ได้ระดมความเห็นและข้อเสนอแนะรายภาคเพื่อกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจสู่ทุกภูมิภาค ส่งเสริมเมืองรองให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น ดังนี้
1) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคกลาง
กำหนดวิสัยทัศน์ “ยกระดับอุตสาหกรรมทุกมิติโดยเชื่อมโยงกับ Food Valley หรือ Innovation Hub เพื่อเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆ การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติและศูนย์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(Medical Hub and Wellness)”
ด้านการค้า การลงทุน ค้าชายแดน ได้แก่ การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ภาครัฐควรเพิ่มการเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวไม่ต้องรอเปิดเป็นรอบ ๆ โดยขึ้นทะเบียนได้ตลอดเวลาเพื่อลดปัญหาความแออัดในการขึ้นทะเบียนและลดปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย การแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าชายเลนกับการพัฒนาพื้นที่ทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆรวมถึงการจัดการผังเมืองสนับสนุนศูนย์กลางโลจิสติกส์และการขยายตัวของเมือง
ด้านเกษตรและอาหาร ผ่านการสนับสนุนกิจกรรมและเทศกาลสำคัญของพื้นที่ที่สามารถยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ อาทิ การสนับสนุนโครงการ “นครปฐมเมืองอาหารปลอดภัย ศูนย์กลางนำครัวไทยสู่ครัวโลก”การสนับสนุนโครงการ “สมุทรปราการเปิดประตูสู่ฮาลาลไทย” การสนับสนุนโครงการ “PIGGY World ดินแดนหมู หมู”จังหวัดราชบุรี และสนับสนุนโครงการ “HUB OF SEAFOOD การพัฒนาและขับเคลื่อนจังหวัดสมุทรสาคร”
ด้านท่องเที่ยวและบริการ ได้แก่ สนับสนุนโครงการ “ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สร้างสรรค์ 3 เส้นทาง” (ทวาราวดี – ละโว้ – อยุธยา) และสนับสนุนการจัดงาน “มหกรรมเจ้าพระยา-ป่าสัก EXPO”
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ได้แก่ การสนับสนุนโครงการศึกษาเส้นทางรถไฟสายใหม่ ช่วงกาญจนบุรี-สุพรรณบุรี-ชุมทางบ้านภาชี การเร่งรัดโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 สายนครปฐม - ปากท่อ –ชะอำหรือ (M8) เส้นทางถนนเพชรเกษม ถนนพระราม 2 และการตรวจประเมินความพร้อมและมาตรฐานของสนามบินหัวหิน
ด้านการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาอุทกภัยซ้ำซากทำ ความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของชุมชนพื้นที่จังหวัดชัยนาท และการสนับสนุนโครงการ Saraburi Low CarbonCity/SAFEHub
2) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคตะวันออก
กำหนดวิสัยทัศน์เป็น “ศูนย์กลางการผลิตสินค้าที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึก และเร่งยกระดับสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยที่มีมูลค่าสูง มุ่งเป้าเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวคุณภาพสูง”
ด้านการค้า การลงทุน ค้าชายแดน ผลักดัน EEC + 1 โดยเสนอให้เพิ่มจังหวัดปราจีนบุรี เป็นจังหวัดใน EEC
ด้านเกษตรและอาหาร ได้แก่ การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยในตลาดโลกพร้อมยกระดับไปสู่สินค้าซอฟต์พาวเวอร์ของไทย การผลักดันยุทธศาสตร์การผลิตผลไม้เมืองร้อนสู่การเป็นมหานครผลไม้เมืองร้อนแห่งเอเชีย โดยเสนอให้มีการจัดตั้ง “สถาบันผลไม้เมืองร้อนไทย”
ด้านการท่องเที่ยวและบริการ ได้แก่ ยกระดับการท่องเที่ยวภาคตะวันออกสู่การท่องเที่ยวคุณภาพสูงผ่านโครงการสร้างเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ภาคตะวันออก รวมทั้ง โครงการส่งเสริมกีฬาเรือใบให้เป็นกีฬาทางน้ำระดับนานาชาติ และการสนับสนุนโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟในจังหวัดปราจีนบุรี
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ เร่งรัดโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในพื้นที่ EEC ให้เป็นไปตามแผนและกรอบระยะเวลาเปิดดำ เนินการ ตลอดจนสร้างโอกาสและเครือข่ายความร่วมมือหอการค้าภาคตะวันออกกับEECi ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัยและพัฒนาที่ล้ำสมัย รวมทั้งการร่วมพัฒนาความรู้ความสามารถของทรัพยากรบุคคล
ด้านการบริหารจัดการน้ำ ภาคตะวันออก เร่งรัดการดำเนินงานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนดในจังหวัดจันทบุรี
3) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือ
กำ หนดวิสัยทัศน์ “ส่งเสริมการค้าและการลงทุนภาคเหนือเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมุ่งสู่ความเป็นสากลไปกับการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวและพัฒนาสินค้าภาคเกษตรให้มีมูลค่าสูง บริหารจัดการภัยพิบัติแบบเบ็ดเสร็จลดผลกระทบต่อภาคเหนือเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพในระยะยาวให้กับภูมิภาค”
ด้านการค้า การลงทุน ค้าชายแดน ได้แก่ เร่งรัดการออกพระราชบัญญัติระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือโดยจัดตั้ง "คณะกรรมการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ" การพัฒนาด่านการค้าให้เป็นด่านสากลเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน เช่น ด่านบ้านฮวก ด่านห้วยโก๋น และด่านชายแดนอื่น ๆ
ด้านเกษตรและอาหาร ได้แก่ พิจารณามาตรการทางภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตปรับปรุงกฎหมาย ภาษีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ให้สอดคล้องการพัฒนาพื้นที่ พร้อมเร่งการฟื้นฟูการเกษตร โดยเฉพาะการผลิตข้าวนาปีและนาปรัง โดยสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพและราคาผลผลิต
ด้านการท่องเที่ยวและบริการ ได้แก่ การเร่งกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ“ไทยเที่ยวไทย” สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวิถีชุมชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการปรับภูมิทัศน์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ การพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการขนส่งโดยการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าด้วยระบบ Cross-docking
ด้านการบริหารจัดการน้ำ เสนอให้มีการบริหารจัดการน้ำแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีแผนแม่บทในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับทั้งฤดูน้ำหลากและน้ำแล้ง รวมทั้งบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำช่วยเหลือและป้องกันทุกระดับ
ด้านการบริหารจัดการ PM 2.5 เร่งรัดมาตรการแก้ไขปัญหา PM 2.5 โดยการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)อากาศสะอาด เพื่อวางระบบการบริหารจัดการอากาศสะอาดของประเทศ
4) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กำหนดวิสัยทัศน์ “การบริหารจัดการน้ำสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการค้าการลงทุน และนวัตกรรม ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและประตูเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่ประเทศเพื่อนบ้าน(Wellness Tourism and Medical Hub)”
ด้านการค้า การลงทุน การค้าชายแดน ผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC-Bio Economy)
ด้านเกษตรและอาหาร ได้แก่ การผลักดันโครงการส่งเสริมและสร้างศูนย์กลางอุตสาหกรรมโคเนื้อครบวงจรนครชัยบุรินทร์ และอีสานใต้ การสร้างห้องตัดแต่งเนื้อโคมาตรฐาน GMP / Halal / HACCP และอบรมอาชีพผู้ตัดแต่งเนื้อ(Butcher) การสร้างห้องบ่ม และห้องตัดแต่งมาตรฐาน GMP เพื่อเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพสูง ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และสนับสนุนฟาร์มโคขุนต้นแบบระดับอำเภอจังหวัดบุรีรัมย์ และชัยภูมิ
ด้านการท่องเที่ยวและบริการ ได้แก่ เร่งเตรียมความพร้อมจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ณ จังหวัดอุดรธานีเพื่อให้สามารถเปิดงานได้ตามกำหนดในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 การดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเชื่อมโยงจากประเทศลาวเข้ามาเที่ยวไทย ผ่านหนองคายเพิ่มเติม โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่ากลับเข้าลาว เสนอให้รัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนต์ต่างชาติในประเทศไทย การสนับสนุนและผลักดันเส้นทางท่องเที่ยวสายมู 5 จังหวัด(อุดรธานี : พญานาคแห่งความรุ่งเรือง / บึงกาฬ : พญานาคแห่งทรัพยากร และแฟร์ชั่น / หนองคาย : พญานาคแห่งการค้า ทรัพย์สมบัติ / มุกดาหาร : พญานาคแห่งศิลปะ ดนตรี และ นครพนม : พญานาคแห่งอาหาร)
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ได้แก่ เร่งรัดโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่ 4 ช่องจราจร (อุดรธานี - บึงกาฬ) เชื่อมโยงถนนมิตรภาพ-ทางหลวงหมายเลข 222 การแก้ปัญหาแนวทางการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงผ่านเมืองนครราชสีมา การเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนมและเร่งรัดก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี - สาละวัน)
ด้านการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ การเร่งรัดก่อสร้างระบบเติมน้ำใต้ดินระดับตื้นและระดับลึก ผลักดันโครงการเติมน้ำใต้ดินให้เป็นวาระแห่งชาติ การผลักดันโครงการประตูระบายน้ำห้วยผาคาง จังหวัดบึงกาฬ เพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยบริเวณจุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำ ไซ)
5) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคใต้
กำหนดวิสัยทัศน์ “เมืองเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวคุณภาพ อาหารและผลผลิตทางการเกษตร นวัตกรรมมูลค่าสูงเชื่อมต่อเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างมีคุณภาพชีวิตและยั่งยืน”
ด้านการค้า การลงทุน การค้าชายแดน ได้แก่ เสนอให้เพิ่มพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor : SEC ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดสงขลา การจัดตั้งศูนย์ศูนย์บริการส่งออกสินค้าแบบเบ็ดเสร็จพร้อม Lab รับรอง คุณภาพและออกใบรับรองสินค้าเกษตร (one stop export center = OSEC) การส่งเสริมการพัฒนาSMART CITY จ.สุราษฎร์ธานีและจ.ภูเก็ต การผลักดันการขนส่งทางน้ำระนอง – เมียนมา และเร่งรัดผลักดันเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ จ.สงขลา
ด้านเกษตรและอาหาร ได้แก่ การส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อนำร่องในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส ยะลา ชุมพร สุราษฎร์ธานี และสงขลา การส่งเสริม Suratthani Herbal City และการส่งเสริมโครงการแพะแปลงใหญ่ จ.กระบี่ ด้านท่องเที่ยวและบริการ การส่งเสริม Wellness Tourism เมืองสปา จ.กระบี่ และ จ.ระนอง
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ได้แก่ การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน เร่งรัดงบประมาณโครงการปรับปรุง ท่าเรือระนอง - เกาะสอง ภายในปี 2569 เร่งรัดโครงการขยายทางหลวงจาก 4 ช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจรหมายเลข 4 (ปะทิว – 4 แยกปฐมพร) หมายเลข 41 (4 แยกปฐมพร - ละแม) และผลักดันการศึกษาความเป็นไปได้มอเตอร์เวย์สายใต้ เชื่อมต่อ มอเตอร์เวย์สาย 8 (M8) สายนครปฐม - ชะอำ เพื่อพัฒนา Logistics ของภาคใต้
การสร้างคนรุ่นใหม่เป็น “พลัง” ขับเคลื่อนประเทศ
หอการค้าไทยให้ความสำ คัญอย่างยิ่งกับการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและแข่งขันได้ในเวทีโลก เรามุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาทักษะความรู้ และศักยภาพของคนรุ่นใหม่ผ่านโครงการต่าง ๆ ที่เน้นการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคตผ่านการดำเนินกิจกรรมของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Young Entrepreneur chamber of commerce : YEC)การจัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำคลื่นลูกใหม่ (Young Public and Private Collaboration : YPC) และการทำ โครงการ Developing Outstanding Talents for Thailand สิ่งเหล่านี้ หอการค้าไทยอยากให้รัฐบาลร่วมสนับสนุนแนวทางนี้อย่างจริงจัง ทั้งในด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ การผลักดันนโยบายที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ และการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและภาครัฐทำ งานร่วมกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
“การมอบสมุดปกขาว” ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่หอการค้าไทยร่วมกับภาคเอกชนทั่วประเทศจัดทำขึ้นเป็นประจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะและแนวทางเชิงนโยบายที่ครอบคลุมทุกมิติของการพัฒนาเศรษฐกิจ อาทิ การสนับสนุนภาคธุรกิจ การส่งเสริมการลงทุน และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยสมุดปกขาวจะถูกส่งมอบให้กับรัฐบาลเพื่อใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกประกอบการกำ หนดนโยบายและแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชนและประชาชนทั่วประเทศถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนหอการค้าไทยและภาคเอกชนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อเสนอแนะที่ถูกรวบรวมไว้ใน “สมุดปกขาว หอการค้าไทยปี 2567” ในโอกาสการจัดงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 42 ฉบับนี้ จะได้รับการพิจารณาจากรัฐบาลอย่างรอบคอบ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการที่สามารถตอบสนองต่อความท้าทายทางเศรษฐกิจได้อย่างตรงจุด สร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนในทุกภาคส่วนสืบไป